วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

[How to] มาซ่อมสีกันเถอะ! : Millhiore Princess's Divide Swords - The Excelide

สวัสดีครับทุกท่าน ^ ^ 
หลังจากที่ห่างหายกันไปนานจากเว็บบล็อก >< ผมขอกลับมาอีกครั้งในวันนี้ด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมสีของโมเดลและฟิกเกอร์นะครับ โดยขอประเดิมเอนทรี่แรกด้วยการซ่อมสีดาบของเน็นโดรอยด์ท่านมิลฮิ

เนื่องจากเมื่อช่วงวันเกิดของผมที่ผ่านมานั้นผมได้ซื้อเน็นโดรอยด์ท่านมิลฮิเข้าบ้าน เป็นของขวัญให้ตัวเองล่ะครับ >w<

แต่เมื่อแกะกล่อง ก็ได้พบกับรอยตำหนิ OAO!!!

จะเห็นจุดด่างๆสีขาวและรอยเปื้อนสีแดงใกล้ๆกันได้ชัดพอควร
 
จะเห็นจุดด่างๆสีขาวและรอยเปื้อนสีแดงใกล้ๆกันได้ชัดพอควร
และไหนๆก็มีเคสตัวอย่างแล้วเลยขอทำเป็น how to เล็กๆล่ะครับ โดยหวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย
เอาล่ะ! Let's do this!!

- - - - - - - - - -

ขั้นแรก เตรียมอุปกรณ์ครับ
ในที่นี้ผมจะใช้....

  1. สีเอนาเมลและตัวทำละลาย ผมใช้ของ Tamiya หาซื้อได้ตามร้านโมเดลและแผนกของเล่นห้างเซ็นทรัล (แต่ถ้าใครหาซื้อไม่ได้จริงๆฝากผมซื้อได้ครับ)
  2. พู่กัน ถาดสี dropper หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน ในที่นี้ผมใช้พู่กันเบอร์ 0 นะครับ ^ ^ หาได้ตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป
  3. ค๊อตต้อนบัท อะไรก็ได้ที่ยุ่ยน้อยๆ ถ้าได้แบบปลายแหลมยิ่งดี ตามร้านขายยาเลยครับ
  4. กระดาษทรายขัดน้ำ แผ่นสีดำ เบอร์ 1000 ขึ้นไปเท่านั้น (สำหรับกรณีนี้) ร้านอุปกรณ์ก่อสร้างมีขาย ใช้ของ TOA หรืออื่นๆตามศรัทธา(ตามความสะดวก)ได้เลยครับ (ฮา)

ส่วนของสี ในที่นี้เราจะใช้สีเอนาเมลเป็นหลักครับ

ขออนุญาตอธิบายตรงนี้ทำไมต้องเป็นสีสูตรเอนาเมล ?
เพราะสีสูตรเอนาเมลนี้เป็นสีคนละชนิดกับสีสูตรแลคเกอร์ที่ GSC ใช้พ่นเน็นโดรอยด์ครับ
ซึ่งสีสองสูตรนี้มันไม่ทำละลายกันเอง เราจึงนำมาใช้ซ่อมสีได้ครับ

จริงๆสามารถใช้สีอคริลิคสูตรน้ำก็ได้ แต่สีน้ำอคริลิคถ้าไม่ใช่แบบสำหรับโมเดลโดยเฉพาะ การยึดเกาะจะไม่ดีเท่าสีเอนาเมลครับ (จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมนะ ^ ^")

แต่! ห้ามใช้สีหรือทินเนอร์สูตรแลคเกอร์เด็ดขาด รวมทั้งน้ำยาล้างเล็บและสารละลายประเภทอซิโทนครับ ถ้าคุณไม่อยากให้สีเก่ามันละลายออกมา ^ ^
ไม่งั้นถ้าเผลอใช้เมื่อไหร่...งานงอกแน่นอนจ้าาาาา 

หมายเหตุ : บางกรณีจำเป็นต้องใช้สีสูตรแลคเกอร์ แต่ขอให้ท่านได้ทำความเข้าใจกับความแตกต่างของสีชนิดต่างๆก่อนนะครับ ในการซ่อมผมเองก็ไม่มีสูตรตายตัว แต่เราต้องมีความเข้าใจในระดับนึงก่อนครับ อิอิ

ขั้นต่อมา ลงมือซ่อมสี

จากภาพแรก พวกรอยเปื้อนสีแดงบนพื้นขาวนั้นผมใช้กระดาษทรายขัดน้ำ (แผ่นสีดำ) เบอร์ 1000 ลูบออกเบาๆเลยครับ จริงๆใช้เบอร์ 1200-1500 ก็ยังได้ (กระดาษทรายเบอร์ยิ่งเยอะยิ่งละเอียด)
แต่การใช้กระดาษทรายลูบขัดสีออกนั้นผมไม่ค่อยอยากแนะนำให้คนที่ไม่เคยทำลองวิธีนี้เท่าไหร่ เพราะถ้าพลาดแล้วชิ้นงานอาจจะเสียหายกว่าเดิมครับ

เมื่อลูบเสร็จแล้วจะเห็นในภาพด้านล่างว่า รอยเปื้อนหายไป ^ ^



หลังจากนั้นก็ผสมสีครับ ตรงนี้ผมใช้สีแดงสดๆจากขวดเลย
การผสมสีนั้นแล้วแต่เคสครับ จำนวนของสีก็ต้องกะกันเอานิดนึง ผสมน้อยไม่พอใช้ ผสมมากเหลือก็เสียดาย ^ ^" (ยกเว้นว่าจะผสมเก็บไว้ใช้วันหลัง)



แต่ผมขอแนะนำว่าให้เริ่มผสมแต่น้อย



ผสมสีให้พอดี ไม่ข้นไปไม่จางไป แล้วเริ่มแต้มๆ & เกลี่ยให้เรียบร้อยครับ
ต้องใจเย็นๆ ถ้าสียังไม่แห้งอย่าทาซ้ำ เดี๋ยวเป็นรอย 



ถ้ามีสีเลอะออกมาก็เอาค็อตต้อนบัทชุบทินเนอร์เอนาเมลน้อยๆมาเช็ด ตามสภาพ



ค่อยๆแต้มสีไปครับ ในภาพนี้รอบที่ 3



เสร็จละครับ ไม่เป็นรอยด่างสีขาวละ เดี๋ยวปล่อยให้แห้งก็ไม่เหลือรอยไว้แล้ว ^ ^ 

- - - - - - - -

ขั้นสุดท้าย ส่งมอบดาบคืนให้ท่านมิลฮิ >w

อาโตะ : ซ่อมดาบของท่านเสร็จแล้วขอรับ ท่านมิลฮิ


ท่านมิลฮิ : สิ่งนี้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของบิสค๊อตติ เราต้องขอบคุณท่านจริงๆที่ซ่อมเอ็กเซลลีดให้

อาโตะ : ด้วยความยินดีครับท่าน ^ ^



ดีใจจริงๆที่ซ่อมเอ็กเซลลีดเสร็จแล้ว ถึงแม้ว่าจะเล็กน้อยก็ตาม
และถ้าหากว่ามีเหตุอะไรที่พอจะช่วยเหลือได้ ผมยินดีเสมอนะขอรับท่านมิลฮิ ^ ^ 


FIN. 

FIN.